วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม(วัดหนองยาว)จ.สุรินทร์

ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม(วัดหนองยาว)จ.สุรินทร์


ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย
ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย
ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย
ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย
พระเครื่อง ปี 2537 พระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม(วัดหนองยาว)จ.สุรินทร์ เป็นพระเนื้อพระเนื้อผงรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่เจียม อติสโย พระรุ่นนี้มีประสบการณ์มากมาย มีเรื่องเล่า ที่จังหวัดสุรินทร์มีอุบัติเหตุบนถนนสายสุรินทร์-จอมพระ มีผู้ขับรถยนต์กระบะชนศาลาข้างทาง ทั้งรถและศาลาพังยับเยิน ผู้ที่เห็นสภาพรถและศาลาคิดว่าผู้ที่ขับรถกระบะไม่น่ารอด แต่ผู้ที่ขับรถกระบะเพียงแค่คิ้วแตกและได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ในตัวแขวนเพียงพระผงหลวงปู่เจียมรุ่นแรก (ปี 2537) เพียงองค์เดียว

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์

พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์


พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์
พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์
พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์
พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์
พระเครื่องหลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์ เดิมๆมาจากวัดพร้อมตะกรุดคู่เคาะเดียวเหรียญสุดท้าย หลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว เหรียญรุ่นนี้ จัดว่ามีประสบการณ์มากมาย ผลิตมาจำนวน 100000 เส้น ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากท่านเป็นห่วงสถานะการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งหลวงปู่มีความเชื่อว่า ตระกรุดนี้สามารถช่วยทหารและประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้ด้วย



วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑

เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑


เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑
เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑

เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑
เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑ (ด้านหลัง)

เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑
เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑

เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑
เหรียญพร้อมตะกรุดคู่ หลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑ (พร้อมตะกรุด)

เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโส รุ่นแรก พิมพ์ ๑ พระอาทิตย์นูน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ออกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พร้อมตะกรุดคู่



วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

พระเครื่อง พระเกจิอาจารย์หลวงปู่เจียม อติสโย

พระเครื่อง พระเกจิอาจารย์หลวงปู่เจียม อติสโย

หลวงปู่เจียม อติสโย

หลวงปู่เจียม อติสโย

อัตโนประวัติ


“พระครูอุดมวรเวท” หรือ หลวงปู่เจียม อติสโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต

การศึกษาเบื้องต้น


“พระครูอุดมวรเวท” หรือ หลวงปู่เจียม อติสโยในเยาว์วัย เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้ เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน อีกทั้งได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ เป็นต้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ครั้นเมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวมทั้งหมด 4 คน เนื่องจากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมากองกำลังเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี

การมรณภาพ


“พระครูอุดมวรเวท” หรือ หลวงปู่เจียม อติสโยย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน ทราบมาว่าหลวงปู่กำลังเป็นที่โด่งดังที่ 3 จังหวัด ชายแดนใต้